ลม/วาตะ/วาโย ในการแพทย์แผนไทยดั้งเดิม

Last updated: 20 ก.พ. 2560  |  41893 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ลม/วาตะ/วาโย ในการแพทย์แผนไทยดั้งเดิม

ลม/วาตะ/วาโย ในการแพทย์แผนไทยดั้งเดิม
ว่าด้วยสมุฎฐานเหตุ และการรักษา
โดย นายแพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา
ลำดับชั้นที่ ๖ ในสายราชสกุลแพทย์แผนไทย " ทินกร "

สาระบาญวาตะสมุฎฐาน
๑. ความหมายและกำเนิด แห่งธาตุลม ในทางการแพทย์แผนไทย
๑.๑ วาตะ หมาย "ระบบลม"
๑.๒ วาโย หมาย "ลักษณะแห่งลม"
๑.๓ ลม หมาย "ทิศทางการไหลเวียน"
๒. มูลเหตุแห่งอาการทางลม ๖ กอง
๓. ลักษณะแห่งอาการในแต่ละกองลม
๔. การวินิจฉัยสมุฎฐานเหตุทางวาตะ และการวินิจฉัยเหตุทางวาตะตามหลักเส้นประธานสิบ
๕. การวางยารักษา (ในบัญชียาหลักแห่งชาติ) ในแต่ละกองลม
๖. การเผายา,พอกยา,ย่างยา,อบตัว,ประคบร้อน-เย็น สำหรับอาการทางวาตะกำเริบหรือหย่อน
๗ การนวดรักษา-การโกยรักษา อาการทางวาตะ

๑. ความหมายและกำเนิดแห่งธาตุลม ในทางการแพทย์แผนไทย
๑.๑ วาตะ มิได้หมายเพียงแค่ลม แต่หมายถึงระบบแห่งลมที่โคจรหมุนเวียนภายในร่างกาย มีลักษณะ
ไหลไปไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ทำหน้าที่พัดพาน้ำ (ระบบเสมหะ) ให้เคลื่อนตามไป ลมนั้นกำเนิดเกิดได้เพราะมี
ไฟ และมีกำเดาแห่งไฟเกิดขึ้นก่อน ลมจึงเกิดขึ้นตามมาเป็นไปตามกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติปรกตินั้น ดังนั้น ปิตตะ(ระบบแห่งความร้อน)จึงเป็นปฐมเหตุให้เกิดวาตะ(ระบบแห่งลม)ตามมาเสมอ
๑.๒ วาโย คือลักษณะแห่งลมที่หยาบและปราณีตต่างกัน เกิดแต่ลักษณะแห่งกำเดาที่มีไฟต่างกัน
และต่างกันตามลักษณะแห่งอวัยวะที่ไฟนั้นอยู่ เช่น ลำไส้ใหญ่น้อยหรือกระเพาะอาหารที่กลวงเป็นช่องใหญ่ ไฟอุ่นกายและไฟย่อยจึงมีลักษณะกำเดาที่แผ่ออกตามลักษณะแห่งอวัยวะนั้น ลมที่เกิดตามกำเดาก็เช่นกันจะมีลักษณะแผ่ออกตามเรียก "ลมกองหยาบ" หรือ เส้นเลือดฝอย,เส้นประสาทสมอง มีลักษณะเป็นเส้นฝอยเล็กๆ
ละเอียดมาก ไฟอุ่นกายที่ดำรงอยู่จะมีกำเดาที่สูงด้วยพื้นที่แคบเล็ก ลมที่เกิดตามกำเดาจึงแรงและละเอียดตาม
ลักษณะกำเดาที่เกิดนั้นเรียก "ลมกองละเอียด" ดังนั้นลมละเอียดจึงมิจำเป็นต้องมาจากลมหยาบเสมอไป เกิด
กันต่างที่ตามลักษณะแห่งอวัยวะนั้นๆ
๑.๓ ลม เป็นสิ่งที่รับรู้ได้ด้วยการสัมผัส มีร้อนมีเย็นเหตุเพราะในลมนั้นมีกำเดาแทรกอยู่ เพราะลมนั้นเกิด
แต่กำเดาเสมอ ลักษณะแห่งลมจะพัดไหลหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาหาหยุดนิ่งไม่ หากลมกำเดานั้นร้อนจักพัดขึ้นบน
เรียก "ลมพัดขึ้นเบื้องบน" หากลมกำเดานั้นร้อนไม่มากจักพัดลงล่างเรียก "ลมพัดลงล่าง" หากลมนั้นเกิดตามแต่
ไฟย่อยอาหารจักเรียกว่า "ลมวิ่งในลำไส้" หากลมนั้นเกิดแต่ไฟย่อยหรือไฟอุ่นกายและกระจายออกในช่องท้องจักเรียกว่า "ลมวิ่งนอกลำไส้" หากลมนั้นเกิดแต่ไฟอุ่นกายหรือไฟระส่ำระส่ายหรือไฟแก่ชราจักเรียกว่า "ลมแล่น
ทั่วกาย" หากลมนั้นมาจากการหายใจเข้า-ออกจักเรียกลมนั้นว่า "ลมหายใจเข้าออก"

๒. มูลเหตุแห่งอาการทางลม ๖ กอง
๒.๑ ลมหายใจเข้าและออก เกิดแต่ระบบอุระเสมหะหรือระบบทางเดินหายใจทำงานนำพาอากาศเมื่อหายใจเข้า และนำพาลมเมื่อหายใจออก หากมีอาการทางศอเสมหะหรืออุระเสมหะจักทำให้เกิดศอเสลดและอุระเสลด ส่ง
ผลโดยตรงต่อลมหายใจเข้าออกให้กำเริบ หย่อนหรือพิการไป หากอากาศภายนอกร้อนกำเดามาก หรือเย็นกำเดาน้อยจักมีผลต่อลมหายใจเข้าเป็นลมร้อน,ลมเย็น หากลมร้อนจักขึ้นบนอาจกำเริบได้ หากลมเย็นจักลงล่างอาจกำเริบ
ได้เช่นกัน
หายใจอากาศเข้า กลายเป็นลมหายใจเข้า เข้าสู่ศอ,อุระ,คูถ และเมื่อหายใจออก เป็นลมจากคูถ ผ่านอุระ ขึ้นศอ ออกนาสิก เหตุต้นจากศอ,อุระ,คูถ เหตุตามคือลมหายใจเข้าออก นอกจากนั้นลมหายใจเข้าออกยังเป็นเชื้อให้
กำเดาที่คงอยู่แรงขึ้นลมร้อนเพิ่มกำเดาอุ่นกาย ลมเย็นลดกำเดาอุ่นกาย

๒.๒ ลมแล่นทั่วกาย เกิดแต่ลมหายใจเข้าออก และไฟสี่กองเป็นเหตุต้นให้เกิด หากเหตุต้นปรกติลมจะแล่น
ในกายเป็นปรกติสุข หากเหตุต้นหย่อนลมแล่นทั่วกายจะหย่อนตาม และหากเหตุต้นกำเริบลมแล่นทั่วกายจะกำเริบตามทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์กัน

๒.๓ ลมพัดขึ้นบน เกิดแต่ลมหายใจเข้าออก,ลมแล่นทั่วกาย และไฟสี่กอง เป็นเหตุต้น ลักษณะเป็นลมที่มีกำเดาอยู่มากจึงพัดขึ้นบนตามธรรมชาติปรกติของกำเดา หากมากไปลมจะกำเริบพัดขึ้นบนเร็วและแรงเป็นลม
ตีขึ้นบนจนถึงศีรษะก่อให้เกิดอาการตามมามากมายและโดยมากจะเป็นอาการอันตราย เช่นลมปะกัง ลมอัมพฤกษ์
ลมอัมพาต ความดันเลือดตีขึ้นบน เป็นต้น หากน้อยไปลมจะไปดันโลหิตังให้น้อยตาม ไม่สามารถหล่อเลี้ยงสมอง
ได้เพียงพอ เกิดอาการ หน้ามืดตาลาย วิงเวียน คล้ายจะเป็นลม หรือเกิดภาวะเนื้อตัวเย็นลงก่อนหมดสติเป็นต้น

๒.๔ ลมพัดลงล่าง เกิดแต่ลมหายใจเข้าออก,ลมแล่นทั่วกาย และไฟสี่กอง เป็นเหตุต้น ลักษณะเป็นลมที่มี
กำเดาอยู่น้อย จึงพัดลงล่างตามธรรมชาติปรกติของกำเดา นำพาเสมหะกองอาโป ๑๒ให้ลงไปหล่อเลี้ยงอวัยวะ
ส่วนล่างทั้งหมด หากการไหลลงของลมหย่อนเมื่อใด กระทำให้เกิดอาการดั่งเช่น เหน็บชา,ตะคริว,ปวดขัดตาม
ข้อเข่าข้อกระดูก,ขาอ่อนแรง เป็นต้น
๒.๕ ลมพัดในลำไส้น้อยใหญ่ เกิดแต่กองลมทั้งสี่ (ลมหายใจเข้าออก,ลมแล่นทั่วกาย,ลมพัดขึ้นบน,ลมพัด
ลงล่าง) และไฟสี่กอง แต่กองสำคัญที่สุดคือไฟย่อยเกิดเป็นกำเดาย่อยเกิดตามด้วยลมพัดในไส้ ช่วยคลุกเคล้า
และช่วยนำพาอุทริยัง(อาหารใหม่)เคลื่อนไปตามระบบ ยังช่วยเพิ่มไฟย่อยทำให้กำเดาย่อยมากขึ้นใช้ในการเผาผลาญอุทริยัง นอกจากนั้นลมในลำไส้ใหญ่ยังช่วยนำพากรีสัง(อาหารเก่า)ให้เคลื่อนออกจากระบบด้วย
๒.๖ ลมพัดนอกลำไส้น้อยใหญ่ เกิดแต่ไฟสี่กอง,กองลมหายใจเข้าออก,ลมแล่นทั่วกาย,และลมพัดลงล่าง ซึ่งสำคัญที่สุด พัดพาน้ำโลหิตัง น้ำเหลือง น้ำระดู น้ำปัสสาวะ น้ำกาม น้ำไขข้อ กระทำให้ธาตุน้ำและธาตุดินในช่อง
ท้องทำงานเป็นปรกติได้ และลมนีิ้ยังเกิดจากการทำงานของอวัยวะในช่องท้องเช่น ลมกำเดาที่เกิดจากการทำงานของตับ,ไต,ม้ามเป็นต้น แต่เกิดอยู่นอกลำไส้น้อยใหญ่

๓. ลักษณะแห่งอาการในแต่ละกองลม
๓.๑ อาการจากกองลมหายใจเข้าและออก
๑. หทยังจะเต้นถี่เร็วแรงหนัก ชีพจรเต้นหนักแรง ดั่งเช่นเมื่อเหนื่อยหอบ กำเดาอุ่นกายจัก
กำเริบ ลมตีขึ้นบนกำเริบตาม และโลหิตจะตีขึ้นบนมากขึ้นตามแรงลมที่ตีขึ้นบนนั้น
๒. เกิดจากอาการทางศอ,อุระหย่อนหรือกำเริบ ทำให้ต้องมีการหายใจหนักแรงขึ้น แต่ลมหายใจเข้า
ออกจะหย่อนลง ทำให้หทยังทำงานมากขึ้นมีอาการเหนื่อยหอบตามมา
๓. เกิดจากการหย่อนของเส้นลมอิทาหรือปิงคลา ทำให้นาสิกทำหน้าที่หย่อนตาม ต้องหายใจมากขึ้น
กระทบต่ออุระส่งผลต่อหทยัง
๔. หากอากาศจากการหายใจเข้ามาก ลมมากตาม ทำให้ไฟกำเริบ ร่างกายจักขับน้ำออกเพื่อลดไฟ
และยังไปกระทบต่ออุระทำให้หทยังทำหน้าที่มากขึ้น รวมถึงในยามอากาศร้อนก็สำแดงอาการ
แบบนี้เช่นกันแล
๕. หากอากาศจากการหายใจเข้าน้อย ลมน้อยตาม ทำให้ไฟหย่อน น้ำจะเข้ามาแทนที่ เกิดภาวะบวม
น้ำที่ศอและอุระ กระทบต่อหทยัง รวมถึงในยามอากาศเย็นก็จักสำแดงอาการนี้เช่นกัน

๓.๒ อาการจากลมแล่นทั่วกาย
๑. หากไฟกำเริบ ลมแล่นทั่วกายจักกำเริบตาม เกิดอาการลมตีขึ้นเบื้องสูง และหากหย่อนจักเกิด
ลมพัดลงล่างกำเริบ ผลักเสมหะและตะกรันลงล่าง ขาจะบวมหรือมีผื่นแดงขึ้นตามขาจนถึงข้อเท้า
๒. หากลมแล่นทั่วกายกำเริบจักผลักดันโลหิตังตีขึ้นบน เกิดภาวะความดันโลหิตสูง
๓. หากลมแล่นทั่วกายหย่อน โลหิตังจักขึ้นบนได้น้อย เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ
๔. หากลมหายใจเข้าออกมาก ลมแล่นทั่วกายจักมากตาม เกิดไฟกำเริบเกิดลมตีขึ้นบนกำเริบตามในที่สุด
๕. หากลมหายใจเข้าออกหย่อน ลมแล่นทั่วกายจักหย่อนตาม เกิดไฟธาตุหย่อนลมตีลงล่างจักกำเริบ

๓.๓ อาการจากลมตีขึ้นเบื้องสูง
๑. จักเริ่มเกิดที่ลมกองสมุนา (เหนือสะดือขึ้นมาสองนิ้ว) พัดขึ้นบนเข้าลิ้นปี่ทำให้แน่นหน้าอก
๒. อาจเกิดเป็นลมดานตะคุณ (ตั้งอยู่กลางอก) พัดเข้าชายโครงขวามีอาการเสียดชายโครงขวา
แต่หากพัดเข้าชายโครงซ้ายจักเข้าหทยังทำให้หัวใจทำงานหนักอาจเกิดภาวะหทัยวาตะร่วมด้วย
๓. ลางครั้งอาจเกิดภาวะลมจุกคอ กระทบต่อลมหายใจเข้าออกทำให้หย่อน กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
๔. เมื่อพัดถึงศีรษะจักเกิดอาการหน้ามืด ตาลาย เวียนศรีษะ ทรงตัวไม่อยู่ คล้ายจะเป็นลม หูอื้อ ตาลาย
๕. อาจเกิดเป็นอาการลมปะกัง ปวดศีรษะข้างเดียว คลื่นไส้อาเจียรผะอืดผะอม หรือมีอาการลมปะกัง
ออกตา ตาพร่ามัวปวดกระบอกตาก็ได้ เข้าต้อหินต้อลมในท้ายสุด
๖. ลมตีขึ้นเบื้องบนอาจทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย เพราะพัดพาโลหิตังขึ้นบน กองชีพจร
จักเต้นแรงเร็ว หทยังจะทำงานหนัก
๗. ลมกองสมุนาจะไล่ตีขึ้นบนกลายเป็นลมชิวหาสดมภ์ ขึ้นบนจนถึงศีรษะเกิดอาการอัมพฤกษ์-อัมพาต
๘. ลมกองสมุนาอาจแทงออกหลังเข้าจุดอัพยา(อยู่แนวสะดือด้านหลังแนบชิดกับกระดูกสันหลัง)แล้ว
วิ่งขึ้นบนเป็นลมตีขึ้นเบื้องสูงเกิดอาการอัมพฤกษ์-อัมพาตได้เช่นเดียวกัน
๙. หากมีอาการลมตีขึ้นเบื้องบนอยู่เนืองๆจะกระทบต่อระบบสมองและเส้นประสาทสมอง(กระทบธาตุดิน)

๓.๔ อาการลมพัดลงล่าง
๑. จักเกิดอาการลมเหน็บชาลงปลายเท้า ตามด้วยลมตะคริวจับเข้าตามน่องหรือโคนขา ขาจะอ่อนแรง
๒. ข้อเข่าจักบวมเข้าจับโปงน้ำหรือจับโปงแห้ง
๓. จักเกิดอาการรองช้ำได้ในท้ายที่สุด
๔. โลหิตังจะไหลเวียนลงล่างน้อย ขาจะอ่อนแรง ปวดเมื่ิอยขา แข้งขาขัดเคลื่อนไหวไม่สะดวก
๕. ปัสสาวะมาก ไตทำงานมาก ขาบวม

๓.๕ อาการลมพัดในลำไส้ใหญ่น้อย
๑. จักเกิดอาการท้องอืดเฟ้อจนเรอเหม็นเปรี้ยว(กรดไหลย้อน) จากนั้นจะเข้าเขตกระษัยท้น,ล้น,จุก
เสียด,กระษัยปู ตามลำดับขั้นตอนของโรคต่อไป ทั้งหมดเหตุเกิดแต่ลมร้อน(จากไฟย่อย)เกิดกำเดา
ย่อย ลมพัดในไส้จึ่งกำเริบตามมา
๒. หากกำเดาย่อยหย่อน ลมพัดในไส้จะหย่อนตาม อาหารใหม่เหลือจากการย่อยตกค้างเป็นอาหารเก่า
ในลำไส้ใหญ่ สะสมนานเข้าเกิดเป็นกล่อนเถา
๓. ลมพัดในไส้หากกำเริบอาจแปรขึ้นบนเป็นลมตีขึ้นบนได้ ส่งผลให้เกิดอาการลมขึ้นเบื้องสูงตามมา
๔. ลมพัดในไส้หากหย่อนอาจทำให้ลมนอกไส้หย่อนตาม ส่งผลทำให้ลมพัดลงล่างหย่อนด้วย
๕. หากเกิดภาวะกำเดาระส่ำระส่ายอาจส่งผลทำให้ลมพัดในไส้นอกไส้กำเริบก็ได้หย่อนก็ได้ตามปัจจัย
ความเครียดความวิตกกังวล อันส่งผลให้เกิดกำเดานั้น (ความวิตกกังวลส่งผลต่อระบบการย่อยและ
ระบบทางเดินอาหาร)

๓.๖ อาการลมพัดนอกลำไส้ใหญ่น้อย
๑. หากลมพัดนอกลำไส้กำเริบ จะส่งผลทำให้เกิดอาการท้องอืด มวลท้อง เสียดท้องซ้ายหรือขวา
๒. หากลมพัดนอกลำไส้หย่อน จะส่งผลทำให้ลมพัดลงล่างหย่อนตาม จะมีอาการใดอาการหนึ่งของ
กองลมพัดลงล่างเกิดขึ้นได้
๓. หากมีอาการทางพัทธะปิตตะกำเริบหรือหย่อน จะส่งผลโดยตรงต่อกองลมพัดในไส้และนอกไส้ทันที
๔. หากมีอาการทางธาตุดินที่ตั้งอยู่ในช่องท้องเช่น ตับ ไต ลำไส้ ม้าม ไต ต่อมเพศชาย ต่อมเพศหญิง
ไม่ว่ากำเริบ,หย่อน จักส่งผลให้เกิดกำเริบ หย่อนของกองลมในลำไส้-นอกลำไส้ตามมาในที่สุด
๕. หากไฟกองแก่ชราหย่อนมากก็ส่งผลกระทบโดยตรงทำให้กองลมพัดนอกลำไส้หย่อนตาม

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้